1825 จำนวนผู้เข้าชม |
การป้องกันหรือการปฏิบัติตัวที่เลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อค มักจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเสมอ แต่หากเรามีอาการเจ็บปวดจากอาการนิ้วล็อคแล้ว และเราทราบวิธีในการรักษาและบรรเทาอาการบาดเจ็บย่อมเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอน แล้วเราทราบหรือไม่ ว่าวิธีการรักษานิ้วล็อคนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
1.ให้บรรเทาอาการบาดเจ็บด้วยการหยุดพัก
การใช้มือข้างที่มีอาการนิ้วล็อคและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานนิ้วมือ ไม่ให้มีการใช้งานในลักษณะหิ้วหรือแบกของหนักๆ เป็นระยะเวลานาน ตลอดจนรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดโรค เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคเกาต์ เบาหวาน โรคอะไมลอยด์โดซิส (Amyloidosis) และโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel ถือเป็นขั้นตอนแรกในการรักษาเลยก็ว่าได้
2.การทานยารักษา
การรับประทานยาที่ต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่การรับประทานยาต่างๆเหล่านี้ ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
3.การนวดบำบัด
เป็นการรักษาที่ถือว่าได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการนิ้วล็อคด้วยการนวดนั้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันการอักเสบและเจ็บปวดเพิ่มขึ้น โดยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนาน และสม่ำเสมอ
4.การผ่าตัด
หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อค โดยคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยนั้นมีอาการรุนแรง จนถึงกับต้องผ่าตัดเพื่อทำการรักษาให้หายขาดหรือไม่
อาการนิ้วล็อค สามารถรับประทานอาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเพื่อเลี่ยงการเกิดอาการนิ้วล็อคในอนาคต เช่นอาหารเสริมกระดูกจระเข้ “วันครอค”ที่มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยด้านกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และอาการอักเสบต่างๆ